วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556




การใช้ประโยชน์จากมะกรูด
1. ใช้ส่วนต่าง ๆ ของมะกรูด เป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่าง ๆ  ดังนี้
       1. 1 ใบมะกรูด   มีรสปร่า กลิ่นหอม แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำใน ดับกลิ่นคาว
        1.2. ผลลูกมะกรูด มีรสเปรี้ยว กัดเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว กัดเถาดานในท้อง แก้ระดูเสีย ฟอกโลหิต ขับระดู ขับลมในลำไส้
        1.3 ผิวลูกมะกรูด มีรสปร่า กลิ่นหอมร้อน ขับลมในลำไส้ ขับระดู ขับผายลม
        1.4 น้ำในลูกมะกรูด มีรสเปรี้ยว แก้ไอเสมหะ ฟอกโลหิต ขับระดู ขับลมในลำไส้
  1.5 ราก มีรสจืดเย็น แก้ไข้ ถอนพิษสำแดง แก้ลมจุกเสียด กระทุ้งพิษไข้ แก้พิษฝีภายใน แก้เสมหะ
2. ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางต่าง ๆ
3. กรดซิตริกที่อยู่ในมะกรูด ช่วยขจัดคราบสบู่ที่หลงเหลืออยู่ ทำให้ผมหวีเรียบง่าย น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม
4. ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ดับกลิ่นคาวของอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ   
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
1. ประสิทธิภาพต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์
        ประสิทธิภาพต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของผิวมะกรูดอยู่ที่ส่วนน้ำมันหอมระเหย ซึ่งผิวมะกรูดจะมีประสิทธิภาพในการยับยั้ง
การเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ ต่าง ๆ ได้ดีกว่าใบมะกรูด(เนื่องจากมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่น้อยกว่าผิวมะกรูด) จุลินทรีย์ที่ถูก
ยับยั้งได้ง่าย คือ รา ดังนั้นจึงมีการนำน้ำมันหอมระเหยไปเป็นส่วนผสมในแชมพูสระผม เพื่อกำจัดรังแค ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา
3. กลไกการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์
    การที่มะกรูดสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ได้นั้น เนื่องจากมีสารพวก เจอรา นิออล นิโรลิออลไอโซพูลีกอล ลินาลูล
และเทอร์ไปนีนออล อยู่ด้วย ซึ่งมีรายงานว่าสารเหล่านี้มีปริสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ได้ แต่กลไกในการยับยั้ง
ยังไม่ทราบแน่ชัด
4. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
    น้ำมันใบมะกรูดมีฤทธิ์ไล่ยุงได้นาน 3 ชั่วโมง ต้านเชื้ออมีบา , d-limonene เป็นสารหลักในน้ำมันผิวมะกรูดมีฤทธิ์ยับยั้งสารก่อ
มะเร็งในหนู
5. ความเป็นพิษ
     มีรายงานทางการแพทย์ว่าพบผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันมะกรูดเป็นส่วนผสมน้ำมันผิวมะกรูดมีสาร oxypedamin
มีผลทำให้เกิดอาการแพเมื่อโดนแสงแดด (photo toxicity)สาร d-limonene เมื่อถูกอากาศเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้
ผลิตภัณฑ์ของเขาค้อทะเลภูที่ใช้ประโยชน์จากมะกรูด
1.     แชมพูมะกรูด
2.     ครีมนวดผมมะกรูด
3.     ครีมหมักผมมะกรูด
4.     น้ำมันหอมระเหยมะกรูด

ฤทธิ์ไล่ยุงและแมลงของตะไคร้หอม

        น้ำมันตะไคร้หอม (Citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอมสามารถใช้ไล่แมลงได้ ครีมที่มีน้ำมันจากใบตะไคร้หอม ความเข้มข้น 1.25, 2.5 และ 5% มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัด เมื่อทดสอบกับยุงก้นปล่อง โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นาน 2 ชม. และที่ความเข้มข้น 10% จะมีระยะเวลาในการป้องกันได้มากกว่า 4 ชม. ตำรับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันข่า 5% น้ำมันตะไคร้หอม 2.5% และวานิลลิน 0.5% จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดได้เช่นกัน โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นานกว่า 6 ชม. และเมื่อทดสอบกับยุงรำคาญ พบว่าตำรับครีมผสม สามารถป้องกันยุงกัดได้ดีกว่าครีมที่ไม่มีน้ำมันหอมระเหย เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม มาทดสอบกับยุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก และเท้าช้าง พบว่ามีผลป้องกันยุงกัดได้นาน 8-10 ชม. และในการทดสอบกับยุงลาย พบว่าความเข้มข้นที่ผลในการป้องกันยุงได้ร้อยละ 50 (EC50) และร้อยละ 95 (EC95) มีค่าเท่ากับ 0.031 และ 5.259% ตามลำดับ และน้ำมันหอมระเหย ความเข้มข้น 1% สามารถป้องกันยุงกัดได้ 75.19% สารสกัด 90% เอทานอลจากตะไคร้หอม และสารสกัดตะไคร้หอมที่ผสมกับน้ำมันมะกอกและน้ำมันหอมระเหยกลิ่นชะมดเช็ด

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.มีประสิทธิสามารนำมาไล่ยุงได้จริง
2.ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ มีกลิ่นหอม
3.สามารถนำมาทำเป็นอาชีพเสริมได้
4.สามารถทำใช้เองที่บ้านได้เพราะมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก

ที่มา จาก Orasa.Mink@gmail.com
วีดีโอการทำสเปรย์หอมไล่ยุง ที่มา www.youtube.com
ขั้นตอนและวิธีการทำ
1.นำตะไคร้มาหั่นเป็นท่อนๆ ส่วนมะกรูดให้นำผลมาหั่นเอาเฉพาะเปลือกแล้วนำไปตากแดดไว้ประมาณ 6-12 (ตากแดดเฉพาะมะกรูด)
2.จากนั้นนำมาต้ม หรือ นึ่งก็ได้ แต่ถ้าจะให้ได้ผลดีต้องนำมานึ่งเพราะจะได้น้ำมันสกัดที่หอมมากขึ้น
3.นึ่งไว้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออก
4.ทิ้งไว้ให้เย็นสักพักแล้วบรรจุใส่ลงในขวดสเปรย์ สามารถนำไปฉีดบริเวณห้องนอนก็ได้สามารถไล่ยุงได้ดี

ที่มา www.writer.dek-d.com
วัสดุและอุปกรณ์ในการทำสเปรย์หอมไล่ยุง

1.หม้อ
2.ขวดน้ำหอมแบบขวดสเปรย์
3.น้ำเปล่า
4.มีด
5.เขียง
6.ซึง
7.ต้นตะไคร้
8.มะกรูด
9.ผ้าขาวบาง

ที่มา www.vcharkarn.com

ประวัติความเป็นมา

ตะไคร้หอม


ตะไคร้หอมไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบของตะไคร้หอมมีสีเขียวปนม่วงแดง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น  ใบ เดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม  (ตะไคร้หอมใบยาวและนิ่มกว่าตะไคร้ธรรมดาเล็กน้อย ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า)  ดอก ช่อ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ออกดอกยากผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก

มะกรูด

มะกรูด เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซ็นติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ซึ่งผลแบบนี้เรียกว่า hesperitium (ผลแบบส้ม) ใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 3 5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมากๆ
ที่มา www.wikipedia.rog 
ที่มา