การใช้ประโยชน์จากมะกรูด
1. ใช้ส่วนต่าง ๆ ของมะกรูด เป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่าง ๆ ดังนี้
1. 1 ใบมะกรูด มีรสปร่า กลิ่นหอม แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำใน ดับกลิ่นคาว
1.2. ผลลูกมะกรูด มีรสเปรี้ยว กัดเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว กัดเถาดานในท้อง แก้ระดูเสีย ฟอกโลหิต ขับระดู ขับลมในลำไส้
1.3 ผิวลูกมะกรูด มีรสปร่า กลิ่นหอมร้อน ขับลมในลำไส้ ขับระดู ขับผายลม
1.4 น้ำในลูกมะกรูด มีรสเปรี้ยว แก้ไอเสมหะ ฟอกโลหิต ขับระดู ขับลมในลำไส้
1.5 ราก มีรสจืดเย็น แก้ไข้ ถอนพิษสำแดง แก้ลมจุกเสียด กระทุ้งพิษไข้ แก้พิษฝีภายใน แก้เสมหะ
2. ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางต่าง ๆ
3. กรดซิตริกที่อยู่ในมะกรูด ช่วยขจัดคราบสบู่ที่หลงเหลืออยู่ ทำให้ผมหวีเรียบง่าย น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม
4. ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ดับกลิ่นคาวของอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
1. ประสิทธิภาพต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์
ประสิทธิภาพต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของผิวมะกรูดอยู่ที่ส่วนน้ำมันหอมระเหย ซึ่งผิวมะกรูดจะมีประสิทธิภาพในการยับยั้ง
การเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ ต่าง ๆ ได้ดีกว่าใบมะกรูด(เนื่องจากมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่น้อยกว่าผิวมะกรูด) จุลินทรีย์ที่ถูก
ยับยั้งได้ง่าย คือ รา ดังนั้นจึงมีการนำน้ำมันหอมระเหยไปเป็นส่วนผสมในแชมพูสระผม เพื่อกำจัดรังแค ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา
3. กลไกการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์
การที่มะกรูดสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ได้นั้น เนื่องจากมีสารพวก เจอรา นิออล นิโรลิออลไอโซพูลีกอล ลินาลูล
และเทอร์ไปนีนออล อยู่ด้วย ซึ่งมีรายงานว่าสารเหล่านี้มีปริสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ได้ แต่กลไกในการยับยั้ง
ยังไม่ทราบแน่ชัด
4. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
น้ำมันใบมะกรูดมีฤทธิ์ไล่ยุงได้นาน 3 ชั่วโมง ต้านเชื้ออมีบา , d-limonene เป็นสารหลักในน้ำมันผิวมะกรูดมีฤทธิ์ยับยั้งสารก่อ
มะเร็งในหนู
5. ความเป็นพิษ
มีรายงานทางการแพทย์ว่าพบผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันมะกรูดเป็นส่วนผสมน้ำมันผิวมะกรูดมีสาร oxypedamin
มีผลทำให้เกิดอาการแพเมื่อโดนแสงแดด (photo toxicity)สาร d-limonene เมื่อถูกอากาศเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้
ผลิตภัณฑ์ของเขาค้อทะเลภูที่ใช้ประโยชน์จากมะกรูด
1. แชมพูมะกรูด
2. ครีมนวดผมมะกรูด
3. ครีมหมักผมมะกรูด
4. น้ำมันหอมระเหยมะกรูด